เมนู

ปลิโพธ (ความกังวล) 10 อย่างนั้น
คือ อาวาส 1 ตระกูล 1 ลาภ (คือปัจจัยสี่)
1 คณะ (คือหมู่) 1 การงาน (คือการ
ก่อสร้าง) เป็นที่คำรบห้า 1 อัทธานะ (คือ
เดินทางไกล) 1 ญูาติ 1 อาพาธ 1 คัณฐะ
(คือการเรียนปริยัติ) 1 อิทธิฤทธิ์ 1.

กุลบุตรผู้ตัดปลิโพธได้อย่างนั้นแล้ว จึงควรเรียนกรรมฐาน.

[กรรมฐาน 2 พร้อมทั้งอธิบาย]


กรรมฐานนั้น มีอยู่ 2 อย่าง คือ สัพพัตถกกัมมัฏฐาน (กรรมฐาน
มีประโยชน์ในกุศลธรรมทั้งปวง) 1 ปาริหาริยกัมมัฏฐาน (กรรมฐานควร
บริหารรักษา) 1. บรรดากรรมฐาน 2 อย่างนั้น ที่ชื่อว่า สัพพัตถกกมมัฏฐาน
ได้แก่ เมตตา (ที่เจริญไป) ในหมู่ภิกษุเป็นต้น และมรณัสสติ (การระลึก
ถึงความตาย). พระอาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า อสุภสัญญา บ้าง. จริงอยู่ ภิกษุ
ผู้จะเจริญกรรมฐาน ครั้งแรกต้องตัดปลิโพธเสียก่อน แล้วจึงเจริญเมตตาไป
ในหมู่ภิกษุผู้อยู่ในสีมา, ลำดับนั้น พึงเจริญไปในเหล่าเทวดาผู้อยู่ในสีมา,
ถัดจากนั้นพึงเจริญไปในอิสรชนในโคจรคาม, ต่อจากนั้นพึงเจริญไปในเหล่า
สรรพสัตว์กระทั่งถึงขาวบานในโคจรคามนั้น. แท้จริง ภิกษุนั้น ทำพวกชน
ผู้อยู่ร่วมกันให้เกิดมีจิตอ่อนโยน เพราะเมตตาในหมู่ภิกษุ. เวลานั้น เธอจะ
มีความอยู่เป็นสุข. เธอย่อมเป็นผู้อันเหล่าเทวดาผู้มีจิตอ่อนโยน เพราะเมตตา
ในเหล่าเทวดาผู้อยู่ในสีมาจัดการอารักขาไว้เป็นอย่างดี ด้วยการรักษาที่ชอบ
ธรรม. ทั้งเป็นผู้อันอิสรชนทั้งหลาย ผู้มีจิตสันดานอ่อนโยน เพราะเมตตา
ในอิสรชนในโคจรคาม จัดรักษาระแวดระวังไว้อย่างดี ด้วยการรักษาที่ชอบ

ธรรม. และเป็นผู้อันชาวบ้านเหล่านั้นผู้มีจิตถูกอบรมให้เลื่อมใส เพราะเมตตา
ในพวกชาวบ้านในโคจรคามนั้น ไม่ดูหมิ่นเที่ยวไป. เป็นผู้เที่ยวไปไม่ถูก
อะไร ๆ กระทบกระทั่งในที่ทุกสถาน เพราะเมตตาในเหล่าสรรพสัตว์. อนึ่ง
เธอเมื่อคิดว่า เราจะต้องตายแน่แท้ ด้วยมรณัสสติ ละการแสวงหาที่ไม่สมควร
เสีย เป็นผู้มีความสลดใจเจริญสูงขึ้นเป็นลำดับ ย่อมเป็นผู้มีความประพฤติไม่
ย่อหย่อน. ตัณหาย่อมไม่เกิดขึ้น แม้ในอารมณ์ที่เป็นทิพย์ เพราะอสุภสัญญา.
เพราะเหตุนั้น คุณธรรมทั้ง 3 (คือ เมตตา 1 มรณัสสติ 1 อสุภสัญญา 1)
นั้น ของภิกษุนั้น ท่านเรียกว่า สัพพัตถกกัมมัฏฐาน เพราะทำอธิบายว่า
เป็นกรรมฐานอันกุลบุตรพึงปรารถนา คือ พึงต้องการในที่ทุกสถาน เพราะ
เป็นธรรมมีอุปการะมาก และเพราะความเป็นปทัฏฐาน แห่งการหมั่นประกอบ
เนือง ๆ ซึ่งความเพียร ตามที่ประสงค์ไป โดยนัยดังพรรณนามาฉะนี้.
ก็บรรดาอารมณ์ 38 ประการ กรรมฐานใด ที่คล้อยตามจริตของ
กุลบุตรใด กรรมฐานนั้น ท่านเรียกว่า ปารหาริยกรรมฐาน เพราะเป็น
กรรมฐานที่กุลบุตรนั้น ควรบริหารไว้เป็นนิตย์ โดยนัยตามที่กล่าวแล้วนั่นเอง
แต่ในตติยปาราชิกนี้ อานาปานกรรมฐานนี้แล ท่านเรียกว่า ปาริหาริย-
กรรมฐาน. ในอธิการว่าด้วยอานาปานกัมมัฏฐานนี้ มีความสังเขปเท่านี้. ส่วน
ความพิสดารนักศึกษาผู้ต้องการกถาว่าด้วยการชำระศีลให้หมดจด และกถาว่า
ด้วยการตัดปลิโพธ พึงถือเอาจากปกรณ์วิเสสชื่อวิสุทธิมรรคเถิด.

[ควรเรียนกรรมฐานในสำนักพุทธโอรสกระทั่งถึงท่านผู้ได้ฌาน]


อนึ่ง กุลบุตรผู้มีศีลบริสุทธิ์ และตัดปลิโพธได้แล้วอย่างนั้น เมื่อจะ
เรียนกรรมฐานนี้ ควรเรียนเอาในสำนักพุทธบุตร ผู้ให้จตุตถฌานเกิดขึ้นด้วย
กรรมฐานนี้แล แล้วเจริญวิปัสสนา ได้บรรลุความเป็นพระอรหันต์. เมื่อไม่